สภาวะโลกร้อน หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ไม่เพียงแต่คุกคามชีวิตมนุษย์เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสัตว์อีกหลายชนิด รวมถึง “ยีราฟ” สัตว์ที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของทวีปแอฟริกา ที่ทำให้ทางการเคนยาต้องยกระดับการเฝ้าระวัง และปกป้องยีราฟมากขึ้น เนื่องจากปัญหาฝนไม่ตกตามฤดูกาล ทำให้ยีราฟมีแนวโน้มอพยพไปอาศัยในพื้นที่ใกล้กับแหล่งชุมชนและอาจถูกชาวบ้านทำร้ายได้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ฮ่องกงสืบสวนแพลตฟอร์มซื้อขายคริปโท หลังนักลงทุนสูญเงินกว่า 6,000 ล้าน
ภัยพิบัติเดือนกันยายน อาจเป็นสัญญาณเตือนวิกฤติอากาศโลก
สิงคโปร์เตรียมปิดซ่อมรูปปั้นสิงโตยักษ์ "เมอร์ไลออน" งดถ่ายรูป 3 เดือน
เมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา ทีมงานสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ของเคนยา ได้ทำการยิงยาสลบและติดตั้งอุปกรณ์ติดตามตัวยีราฟจำนวน 25 ตัว ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ “มาไซ มารา” ทางภาคตะวันตกของประเทศ เพื่อศึกษาการดำรงชีวิตและคุ้มครองประชากรของสัตว์ชนิดนี้ที่กำลังเข้าข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
โดย ดอกเตอร์ มูกามี รูโอโร (Mukami Ruoro) หนึ่งในทีมงานสัตวแพทย์ ระบุว่า ขณะนี้ฤดูฝนในเคนยาไม่ใช่ฤดูฝนอีกต่อไป เนื่องจากฤดูแล้งกินระยะเวลายาวนานขึ้น ทำให้ยีราฟต้องอพยพไปยังพื้นที่อื่น รวมถึงพื้นที่ที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า
ด้าน อาเธอร์ มูเอนซา (Arthur Muneza) ผู้ประสานงานโครงการอนุรักษ์ยีราฟของภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก กล่าวว่า ข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ติดตามตัวดังกล่าว จะช่วยให้ทีมงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการดำรงชีวิตของยีราฟและสามารถใช้เป็นข้อมูล สำหรับการบริหารจัดการถิ่นที่อยู่อาศัยของยีราฟ เพื่อคุ้มครองสัตว์ชนิดนี้
โดยยีราฟ ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ ของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ หรือ ICUN ซึ่งประชากรยีราฟเฉพาะในประเทศเคนยามีจำนวนลดลงระหว่าง 50 ถึง 80 เปอร์เซนต์ นับตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1990
ซึ่งสาเหตุสำคัญของการลดจำนวนประชากรของยีราฟ มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การล่า รุกล้ำพื้นที่ และความเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่อาศัย
อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2022 มีการสำรวจประชากรยีราฟทั่วทวีปแอฟริกา โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการแสกนภาพที่สามารถจำแนกสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ร่วมกับการเดินสำรวจภาคพื้นดิน ทำให้พบว่า ประชากรยีราฟมีจำนวนอยู่ที่ประมาณ 117,000 ตัว โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2015 ถึง 20%