วันที่ 2 กรกฎาคม 2565 เป็นวันครบรอบ 25 ปี ที่ทางการไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อปี 2540 ถือเป็นจุดเริ่มต้นมาสู่วิกฤติการณ์การเงินครั้งใหญ่ที่เรียกกันว่า “วิกฤติต้มยำกุ้ง” มาดูมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังกันบ้างว่ามีความคิดเห็นอย่างไร เปรียบเทียบได้อย่างไรระหว่างในอดีตปี 2540 กับ ปัจจุบัน ที่ผ่านมานานถึง 25 ปีแล้วคำพูดจาก สล็อตทดลองเล่นฟรี
นายเชาว์ เก่งชน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันพื้นฐานเศรษฐกิจไทยค่อนข้างแตกต่างจากช่วงปี 2540 ที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ในช่วงนั้นมีปัญหาเงินบาทไม่ยืดหยุ่นเพราะผูกไว้กับเงินดอลลาร์ ทุนสำรองระหว่างประเทศไม่มี จึงต้องกู้หนี้ต่างประเทศ ทำให้หนี้ต่างประเทศสูงมาก และยังมีปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่ตอนนี้หนี้ต่างประเทศต่ำแค่ 7 หมื่นล้านดอลลาร์ น้อยกว่าทุนสำรองมาก ซึ่งทุนสำรองระหว่างประเทศปัจจุบันมีมากถึง 2.4 แสนล้านดอลลาร์ และสภาพคล่องในประเทศมีสูงกว่า 4-5 ล้านล้านบาท ซึ่งเพียงพอต่อการรับมือวิกฤติและความเสี่ยงต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ความเสี่ยงที่ประเทศไทยต้องเจอหลังจากนี้ คงจะเป็นเรื่องปัญหาเชิงโครงสร้างมากกว่า เนื่องจากต้องเจอทั้งสังคมผู้สูงวัย ทำให้ความสามารถทางการแข่งขันไทยอาจจะลดลง เพราะคนทำงานในอนาคตน้อยลง และทำให้กำลังซื้อลดลงตาม จึงจะเป็นปัญหาให้ประเทศไทยในระยะปานกลางจนถึงระยะยาว หากไม่ได้มีการปรับแก้ไข แต่ยืนยันว่าในระยะสั้นประเทศไทยไม่มีปัญหาและไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ แม้ไทยจะเจอวิกฤติซ้อนวิกฤติทั้งโควิด-19 และสงครามรัสเซียกับยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันแพง ค่าครองชีพสูงก็ตาม
สำหรับวิกฤติโควิดที่ไทยต้องเจอคือ ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลต่อเนื่องมา 2 ปี แต่ไม่ได้ทำให้เกิดความเสี่ยงอะไร เพราะมีสภาพคล่องที่สูงต่างจากปี 2540 ที่ต้องกู้หนี้ตลอด และวิกฤติที่ไทยเจอมาจากภายนอกประเทศเป็นหลักไม่ได้มาจากเศรษฐกิจภายในประเทศ เช่น สงครามรัสเซียและยูเครน ซึ่งคาดว่าอาจจะไม่ยืดเยื้อมากนัก เพราะทรัพยากรการทำสงครามของ 2 ประเทศเริ่มลดลง โดยหากเทียบวิกฤติปี 2540 กับปัจจุบัน พื้นฐานเศรษฐกิจไทยแตกต่างกันมาก แทบไม่มีอะไรเหมือนกันคำพูดจาก เล่นเกมสล็อตออน
นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย กล่าวว่า แม้ประเทศไทยในปัจจุบันจะมีความแข็งแกร่งในด้านฐานะการเงิน ทุนสำรองสูง สภาพคล่องสูง หนี้ต่างประเทศต่ำ แต่ก็ประมาทไม่ได้ เพราะรูปแบบของวิกฤติที่จะเจออาจเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งคาดเดาได้ยาก หากเทียบเมื่อปี 2540 วิกฤติมีทั้งค่าเงิน อสังหาฯ จากเงินทุนสำรองไม่มี ส่วนในครั้งนี้ไทยเจอวิกฤติท่องเที่ยวจากผลกระทบของโควิด ทำให้ก่อนหน้านี้ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาไทยเลย ดังนั้นไทยจึงต้องสร้างภูมิคุ้มกัน มีเงินทุนสำรองมาก ไม่พึ่งพาต่างประเทศมากจนเกินไป
ขณะที่ความเสี่ยงระยะต่อไปคงเกิดจากการเรียนรู้ของธนาคารแห่งประเทศไทย และรัฐบาล เมื่อเรียนรู้ประสบการณ์ในอดีตจึงเกิดความกลัว กลัวความเสี่ยง ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากความกลัว จนรายได้เติบโตช้ากว่ารายจ่าย และทำให้ประชาชนกู้หนี้ยืมสินจนเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือน และทำให้เศรษฐกิจโตต่ำกว่าศักยภาพมาหลายปี ดังนั้นต้องทำให้มีรายได้เพิ่ม สร้างอาชีพให้คนเพิ่มรายได้
“วิกฤติปี 2540 เกิดจากค่าเงิน แม้ค่าเงินบาทในตอนนี้อาจอ่อนทะลุ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ แต่ไทยได้รับอานิสงส์จากส่งออกและการท่องเที่ยว ซึ่งได้ส่งผลดีเมื่อเงินบาทอ่อนค่า และเงินบาทไม่ได้อ่อนค่าสุดในภูมิภาค ทำให้ไม่ได้มีผลต่อความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ มากนัก แต่สิ่งที่กังวลคือเงินเฟ้อไตรมาส 3 นี้จะพุ่ง 10% กดดันการบริโภคของไทย ก็หวังว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มเห็นแสงสว่างในครึ่งปีหลัง”